นิทรรศการยานอวกาศแห่งบ้านนาบัว

เราจะสร้างยานอวกาศ เพราะอยากจะสร้างสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึง การใช้ชีวิตที่มันเต็มไปด้วยความน่าเบื่อหน่าย”

- อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล จากหนังสือ ชั้นครู ๑ ตัวตนโดยตัวงาน อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล -


โดย ณัฐพล สวัสดี

* ปรับปรุงจากฉบับพิมพ์ครั้งแรกในจดหมายข่าวหอภาพยนตร์ ฉบับที่ 59 กันยายน-ตุลาคม 2563


จากความคิดเริ่มต้นที่อยากจะสร้างยานพาหนะเพื่อจะหนีออกไปจากความน่าเบื่อหน่าย เกิดเป็นยานอวกาศที่เป็นอุปกรณ์ประกอบฉากในวิดีโอจัดวาง (video installation) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการศิลปะขนาดใหญ่ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์คนสำคัญของไทย ในชื่อ Primitive Project หรือชื่อไทย โครงการดึกดำบรรพ์ หรือ โปรเจกต์ดักดาน โดยเนื้อหาและจิตวิญญาณของงานทุกชิ้นในโครงการล้วนผูกโยงกับการค้นคว้าและการเดินทางไปในภาคอีสาน ดินแดนบ้านเกิดที่ยังไม่เคยถูกพูดถึงอย่างจริงจังในหนังของตัวเอง อภิชาติพงศ์เล่าถึงการเดินทางครั้งนี้ว่า


*“ตอนหาข้อมูล ผมเดินทางเลียบแม่น้ำโขงไปยังบ้านเกิด (ขอนแก่น) แล้วหยุดที่ตำบลนาบัว (จุดปะทะระหว่างรัฐบาลกับชาวนาคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2508) ซึ่งผมรู้จักประวัติเพียงผิวเผิน พอตัดสินใจทำหนังที่นี่ ผมก็เริ่มคุยกับชาวบ้านละแวกนั้น ถ่ายวิดีโอและอัดเสียงเก็บไว้จนกลายเป็นข้อมูลก้อนยักษ์ งานของผมพูดถึงความทรงจำเสมอ แต่ผมไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับสถานที่นี้เลย นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้ต่างจากเรื่องก่อน ๆ ผมต้องใช้เวลาสร้างความทรงจำเกี่ยวกับสถานที่นี้และค้นหาอดีตที่คนในพื้นที่กับผมมีร่วมกัน”  


ยานอวกาศได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงการ ที่นอกจากงานวิดีโอจัดวางแล้วยังประกอบด้วยงานศิลปะสื่อผสมอื่น ๆ อีกนับสิบชิ้น ทั้งหนังสือ ภาพถ่าย มิวสิกวิดีโอ หนังสั้น รวมทั้งภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) ที่ถือเป็นงานชิ้นหลัก ซึ่งต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการภาพยนตร์ไทย โดยการไปคว้ารางวัลปาล์มทองคำ (Palme d’Or) รางวัลใหญ่ที่สุดของเทศกาลประกวดภาพยนตร์เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส และถือเป็นรางวัลภาพยนตร์ที่มีเกียรติยศมากที่สุดรางวัลหนึ่งของโลกในปี พ.ศ. 2553 




ปี พ.ศ. 2555 หอภาพยนตร์มีโอกาสเข้าไปสำรวจหาสิ่งเกี่ยวเนื่องกับโครงการศิลปะนี้ที่หมู่บ้านนาบัว จังหวัดนครพนม จึงได้พบกับยานอวกาศจอดอยู่ในหมู่บ้านในสภาพที่ทรุดโทรมตามกาลเวลา และเกิดความคิดที่จะอนุรักษ์ จนนำมาซึ่งการเข้าไปบูรณะ ซ่อมแซม และทำจำลองยานอวกาศขึ้นมาอีกชุดหนึ่งโดยฝีมือของช่างชุดเดิมที่เคยสร้างยานเพื่อนำมาจัดแสดงที่หอภาพยนตร์ และในวาระครบรอบ 10 ปีของ ลุงบุญมีฯ และ Primitive หอภาพยนตร์ได้ดำเนินการตกแต่งพื้นที่บริเวณโถงชั้น 2 ต่อเนื่องชั้น 3 ของอาคารสรรพสาตรศุภกิจ ซึ่งเป็นจุดจอดยาน ให้เป็นนิทรรศการ “ยานอวกาศแห่งบ้านนาบัว” โดยนิทรรศการจะแบ่งเป็นสองส่วนหลัก

ส่วนแรกคือ การบอกเล่าถึงที่มาที่ไป เบื้องหลังการสร้างยาน และบทบาทของยานอวกาศที่ปรากฏในงานของอภิชาติพงศ์ผ่านภาพถ่าย แบบร่าง รูปสเก็ตช์ และวิดีโอ รวมถึงภาพการเข้าไปสำรวจซากยานและดำเนินการอนุรักษ์จนสำเร็จสมบูรณ์ โดยข้อมูลประกอบการจัดแสดงตัดทอนมาจากหนังสือ “ชั้นครู ๑ ตัวตนโดยตัวงาน อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” ที่หอภาพยนตร์จัดพิมพ์ขึ้นจากเนื้อหาการบรรยายของอภิชาติพงศ์ในงาน ชั้นครู (Master Class) ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2554

ส่วนที่สองคือ ตัวยานอวกาศ ที่เปิดเป็นพื้นที่อิสระให้ผู้มาเยี่ยมชมได้เข้าไปมีประสบการณ์ร่วมเหมือนกับในภาพยนตร์ บรรยากาศแสง สี และเสียงที่โอบล้อมจะพาผู้โดยสารหลบหนีจาก “การใช้ชีวิตที่มันเต็มไปด้วยความน่าเบื่อหน่าย” ผ่านความฝัน ความทรงจำ ตามความตั้งใจของผู้สร้างหรือไม่ คงมีแต่ผู้มาชมนิทรรศการเท่านั้นที่ได้คำตอบ 



ด้วยภารกิจงานอนุรักษ์ของหอภาพยนตร์ การจัดแสดงครั้งนี้หอภาพยนตร์ยึดถือเจตนารมณ์เดียวกันกับผู้กำกับ ทั้งในเชิงสุนทรียศาสตร์ของวัตถุ แสง ภาพเคลื่อนไหว ในการถ่ายทอดเนื้อหาและอุดมการณ์ดั้งเดิมของชิ้นงาน เพื่อให้คงไว้ซึ่งจิตวิญญาณของยานอวกาศแห่งบ้านนาบัว ที่ได้เดินทางผ่านกาลเวลากว่า 10 ปี จากหมู่บ้านที่เคยเป็นสถานที่สำคัญในประวัติศาสตร์บทหนึ่งของการเมืองไทย สถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของประชาชนลุกฮือต่อต้านอำนาจรัฐในยุคสงครามเย็น


นิทรรศการยานอวกาศแห่งบ้านนาบัว จัดแสดง ณ โถงชั้น 2 อาคารสรรพสาตรศุภกิจ เริ่มเปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร-อาทิตย์ เวลา 10.00-17.00 น.  ตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนนี้เป็นต้นไป  


หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด