บุญส่ง นาคภู่ กับฉากและชีวิตของคนตัวเล็กๆ

“คนเราดูหนังเพื่อหนีจากอะไรบางอย่าง นั่นเป็นเรื่องปกติ แต่ผมเชื่อว่าภาพยนตร์ยังสามารถเล่าเรื่องของคนตัวเล็กๆได้ และผมหวังจะทำสิ่งนั้นต่อๆไป”


บุญส่ง นาคภู่ เคยให้สัมภาษณ์ไว้เช่นนั้น สิ่งที่เขาพูดปรากฎชัดในงานหนังแทบทุกเรื่อง บุญส่ง เป็นคนทำหนังไทยที่ยืนหยัดเล่าเรื่องราวของ “ชาวบ้าน” เล่าถึงชีวิตชนบท ชาวนา คนสามัญและผู้ที่ต้องต่อสู้กับระบบต่างๆที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา โดยเล่าเรื่องเหล่านี้ด้วยสไตล์สัจนิยม คือสมจริง ไม่มีการปรุงแต่งจนเกินเลย ในยุคที่หนังไทยเป็นสินค้าของคนชั้นกลางประเภทหนึ่งที่ต้องแต่งแต้มเพื่อดึงดูดลูกค้า หนังของบุญส่งจึงเป็นภาพบันทึกหยาบกร้านมองเมืองไทยและคนไทยอย่างตรงไปตรงมา


ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ หอภาพยนตร์จัดฉายภาพยนตร์ 4 เรื่อง ของบุญส่ง ที่มีคุณธูป นาคภู่ คุณแม่ของผู้กำกับเป็นนักแสดง เพื่อรำลึกถึงวาระการจากไปของคุณธูปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และเพื่อแสดงงานบางส่วนอันมีเอกลักษณ์ของผู้กำกับไทยคนนี้


“ผมโตมากับหนังสะท้อนสังคมอย่าง ไผ่แดง ทองพูนโคกโพ เด็กวัด หนังอะไรพวกนั้น แต่มาในสมัยนี้ ถ้าคุณทำหนังว่าด้วยคนชนบทห่างไกล คนจะคิดว่ามันดูแปลกมากๆ”


ภาพยนตร์ 4 เรื่องที่จะฉายในโปรแกรมของหอภาพยนตร์ได้แก่ วังพิกุล (2557) เล่าเรื่องชายหนุ่มที่เป็นทหารและเดินทางกลับมายังบ้านเกิด ณ หมู่บ้านวังพิกุลอันเงียบเหงา คนจนผู้ยิ่งใหญ่ (2553) เรื่องของชายหนุ่มที่ไม่ประสบควมสำเร็จในการทำงานก่อสร้างที่กรุงเทพและตัดสินใจกลับบ้านเกิดเพื่อทำนา ฉากและชีวิต (2561) ภาพยนตร์ที่เล่าถึงตัวละครหลายคนในหมู่บ้านวังพิกุล และ เณรกระโดกำแพง (2561) ภาพยนตร์ที่ผู้กำกับเล่าเรื่องชีวิตของตัวเองผสมผสานระหว่างเรื่องแต่งและสารคดี 


บุญส่ง หรือชื่อเล่น สืบ เป็นคนสุโขทัย (ซึ่งเป็นฉากหลังในหนังหลายๆเรื่องของเขา) เกิดเมื่อปีค.ศ.2511 ในครอบครัวชานา จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ สาขาการแสดง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทลาลัย เริ่มต้นอาชีพในวงการแสดงและภาพยนตร์เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน เขาเริ่มงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับในหนังไทยหลายเรื่อง ควบคู่ไปกับการเป็นนักแสดงหนังและละครเวที อีกทั้งยังเป็นผู้ฝึกสอนนักแสดงให้หนังในยุคนั้นหลายเรื่อง นอกจากนี้บุญส่งยังทำหนังสั้นส่งเข้าประกวดในงานเทศกาลหนังสั้น ซึ่งเพื่อเริ่มมีขึ้นมาไม่นานในยุคสมัยเดียวกัน 

ผลงานการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาคือ หนังตลก 191 ครึ่ง มือปราบทราบแล้วป่วน นำแสดงโดยไพโรจน์ ใจสิงห์ แต่หนังที่แสดงตัวตนของเขาเองในฐานะคนเขียนบท-ผู้กำกับ และผู้บันทึกชะตากรรมของคนตัวเล็กในประเทศ คนจนผู้ยิ่งใหญ่ ในปี 2553 อันเป็นปฐมบทที่ต่อมาเกิดเป็นหนังเรื่องอื่นๆในทำนองและลีลาใกล้เคียงกัน 



“เราตั้งปณิธานว่าจะทำหนังง่ายๆ ที่ยิ่งคิดยิ่งลึก อยากทำให้คนดูได้ทำสมาธิไปด้วยระหว่างดูหนัง ปฏิบัติธรรมไปพร้อมกับเรา หรือฉากและชีวิต ก็อยากให้คนนึกถึงตัวเอง บ้านตัวเอง เณรกระโดดกำแพงอยากให้คนดูสนุกไปเรื่อยๆ แล้วตอนจบอยากให้รู้สึกว่า ไอ้บ้า อะไรวะเนี่ย” 


ขอเชิญทุกท่านร่วมชมภาพยนตร์ของบุญส่ง นาคภู่ที่หอภาพยนตร์ ตลอดช่วงสัปดาห์ที้เหลืออยู่ของเดือนกุมภาพันธ์ และในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ บ่ายสามจะฉายเรื่อง วังพิกุล หลังจากนั้นบุญส่งจะมาร่วมพูดคุยและพบปะกับผู้ชมด้วยหลังหนังฉาย รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก


หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด