ไอ้ทุย วิถีชีวิตและค่านิยมแห่งยุคสมัย

“ภาพยนตร์ที่บันทึกประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของหนังไทย และแสดงหลักฐานนั้นอันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและค่านิยมแห่งยุคสมัย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปแล้วตามกาลเวลา”


ปี 2513 มนต์รักลูกทุ่ง ได้สร้างปรากฏการณ์ เป็นภาพยนตร์เพลงในระบบมาตรฐาน 35 มม. ฉายเต็มจอใหญ่ สามารถทำรายได้ถล่มทลายทั้งประเทศ จนทำให้ผู้สร้างหนังไทยต้องหันมาทำหนังในระบบ 35 มม. ในปี 2514 ดอกดิน กัญญามาลย์ ผู้สร้างหนังที่ต้องรสนิยมคนไทยจนประสบความสำเร็จโดยตลอด จึงได้สร้างหนังเรื่อง ไอ้ทุย ในระบบ 35 มม. เป็นเรื่องแรกของ ดอกดิน กัญญามาลย์ แต่เค้าโครงการเดินเรื่องยังมีร่องรอยหนัง 16 มม. ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์ของหนัง, มุมกล้อง และวิธีการแสดง ส่วนเนื้อหาของหนัง ก็ยังคงแนวทางหนังแบบดอกดินที่มีครบทุกรสชาติดังเช่นเรื่องก่อนหน้าที่ประสบความสำเร็จทั้งหลาย อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์มาตั้งแต่การแสดงจำอวด และอยู่กับคณะละครเร่ จึงสามารถรู้วิธีที่จะทำหนังให้ชนะใจผู้ชม จนเป็นเจ้าของวลี “ล้านแล้วจ้า” 


ไอ้ทุย เล่าเรื่องของ คุณเพรียว ผู้ได้รับมรดกจากคนรักเก่าของแม่ เธอจึงยินยอมมอบที่ดินให้ชาวบ้านได้ใช้ทำมาหากินโดยไม่คิดค่าเช่า กระทั่งวันหนึ่งที่เธอถูกคนร้ายบุกมาที่หมู่บ้านเพื่อลักพาตัวคุณเพรียว ทุย ลูกชายกำนันจึงเป็นแกนนำชาวบ้านในการต่อสู้เพื่อคุ้มครองคุณเพรียว ผลงานชิ้นนี้ของดอกดินจึงยังเต็มไปด้วยองค์ประกอบแห่งความสำเร็จทั้งมุกตลก ความรัก เพลงเพราะ และบู๊ เติมเต็มอรรถรสให้ครบครับสำหรับคนดูหนัง 


หอภาพยนตร์ได้รับภาพยนตร์ ไอ้ทุย กลับจากฮ่องกง ในโครงการหนังไทยกลับบ้าน สำหรับหนังเรื่องนี้นับเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์สำหรับการศึกษาหนังไทย จากผู้สร้างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่หนังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญจากหนังยุค 16 มม. มาสู่ยุคหนัง 35 มม. ไอ้ทุย จึงสามารถบันทึกประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงของหนังไทย และแสดงหลักฐานนั้นอันสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและค่านิยมแห่งยุคสมัย ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปแล้วตามกาลเวลา  


ในเดือนมกราคมนี้ ไอ้ทุยจะกลับมาฉายขึ้นจออีกครั้งด้วยการแสกนฟิล์มใหม่ในความละเอียด 4K โดยจะจัดฉายที่โรงภาพยนตร์ศรีศาลายา หอภาพยนตร์ ในวันเสาร์ที่ 4 มกราคม และศุกร์ที่ 24 มกราคม 2563 เวลา 15.00 น. ชมฟรี


หนัง 14 ตุลาคม : การเขียนประวัติศาสตร์ประชาชน...

14 ต.ค. 64  บทความ

เบื้องหลังการถ่ายหนังบันทึกเหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ของ ชิน คล้ายปาน และ ทวีศักดิ์ วิรยศิริ ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ที่หอภาพยนตร์ และต่อมาภาพย...

อ่านรายละเอียด

หลายชีวิต อดีตคนทำหนังสั้น กับความทรงจำและควา...

23 ก.ย. 64  บทความ

สรุปสาระสำคัญจากการสนทนากับคนทำหนังที่มีจุดเริ่มต้นเส้นทางอาชีพจากการส่งผลงานประกวดที่เทศกาลภาพยนตร์สั้นตั้งแต่ยุคเลขตัวเดียว ถึงบทบาทที่หลากหลายแตกต่...

อ่านรายละเอียด

ภาพยนตร์อัฟกันภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบัน

16 ก.ย. 64  บทความ

เรื่องราวของภาพยนตร์และงานอนุรักษ์ภาพยนตร์ของอัฟกานิสถาน ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดสามทศวรรษจากสงครามกลางเมืองและการปกครองของตาลีบัน และล่าสุดยังคงเผชิญก...

อ่านรายละเอียด

ภาพเคลื่อนไหวอาจารย์ศิลป์กับงานศิลปะเรื่องเดี...

15 ก.ย. 64  บทความ

แม้ว่าเรื่องราวและภาพถ่ายของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีการเผยแพร่อย่างมากมาย แต่ภาพเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในระหว่างการทำงานศิลปะนั้นไม่เคยปรากฏให้เห็นมาก่อน...

อ่านรายละเอียด

สำรวจนางสาวสุวรรณและโชคสองชั้นผ่านข้อถกเถียงว...

14 ก.ย. 64  บทความ

สรุปเรื่องราวประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทยจากเสวนาออนไลน์เรื่อง “นางสาวสุวรรณ หรือ โชคสองชั้น: ถกประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่าด้วยหนังไทยเรื่องแรก?”----------โดย...

อ่านรายละเอียด

จาก เชิด ทรงศรี ถึง ทมยันตี

13 ก.ย. 64  บทความ

นอกจากจะมีนวนิยายที่ที่ชื่อเสียงมากมายหลายเล่ม  คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ ยังถือเป็นนักเขียนที่มีผลงานได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์มากที่สุดคนหนึ่...

อ่านรายละเอียด