History of Japanese Experimental Films : BETWEEN THE FRAMES (16 mm film)

18 ธันวาคม 2562

เวลา 17:00 น.

โรงศรีศาลายา

เทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 23

2562

กำกับโดย -

สนับสนุนโดย เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ

นำแสดงโดย -

ความยาว 78 นาที

ภาษา อังกฤษ


History of Japanese Experimental Films


Programmer: Koyo YAMASHITA


โคโยะ ยามาชิตะ เกิดที่กรุงโตเกียว เขาเป็นผู้อำนวยการ Image Forum Festival มาตั้งแต่ปี 2001 และเป็นโปรแกรมเมอร์ของ Theater Image Forum ที่ชิบูย่า มาตั้งแต่ปี 2005 ยามาชิตะยังเป็นโปรแกรมเมอร์รับเชิญให้กับเทศกาลหนังต่าง ๆ มากมาย เช่น Transmediale (เบอร์ลิน), Bozar (บรัสเซลล์), Arkipel International Documentary and Experimental Film Festival (จาการ์ตา), Sea Shorts (มาเลเซีย), Seoul New Media Festival Festival (โซล) อีกทั้งเป็นที่ปรึกษาและเป็นกรรมการตัดสินในเทศกาลหนังจำนวนมาก เช่น Hong Kong International Film Festival, Cannes Director’s Fortnight, Rotterdam International Film Festival, Tampere International Film Festival และอื่น ๆ อีกมากมาย



---------------------------------------------------------------------

The Historical Program  : BETWEEN THE FRAMES (16 mm film)


โปรแกรมเปิดด้วย Atman หนังเรื่องสำคัญจากปี 1975 ของโตชิโอะ มัทสึโมโตะ คนทำหนังอะวองการ์ดที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ 60-70 และโปรแกรมจะจบด้วย Spacy (1980) โดยทาคาชิ อิโตะ ลูกศิษย์ของมัทสึโมโตะ และเป็นหนังที่ได้รับแรงส่งตรง ๆ จาก Atman ในภาพรวม การเข้ามาของหนัง American Underground เป็นต้นกำเนิดของกระแสหนังทดลองญี่ปุ่นในช่วงปี 70 คนทำหนังญี่ปุ่นพัฒนาสไตล์ของตนเองขึ้นมา และช่วยกันสร้างงานอีกทั้งส่งผ่านอิทธิพลซึ่งกันและกัน คนทำหนังญี่ปุ่นสนใจเรื่องกลไกของภาพยนตร์ โดยเฉพาะพลวัตรของภาพเคลื่อนไหว แนวคิดแบบ Structuralist จึงเป็นแนวคิดสำคัญของศิลปินในยุคนั้และยุคถัดมา หนังในโปรแกรมนี้มาจากโปรแกรมฉายปกติของ Image Forum Cinematheque ซึ่งเพิ่งฉลองครบการฉาย 1000 โปรแกรมไปเมื่อไม่นานนี้




Atman 

1975 / 11 min

Director: Toshio Matsumoto


สุดยอดงานภาพของหนังอะวองการ์ดญี่ปุ่น จัดจ้านด้วยสีและเสียง เขย่าคนดูด้วยภาพนิ่ง 480 ภาพ และหุ่นตัวหมุนในหน้ากากโนะ อีกทั้งการสร้างภาพที่เล่นกับประสาทการรับรู้ของผู้ชม ดนตรีโดย โตชิ อิชิยานากิ

 

My Movie Melodies 

1980 / 6 min

Director: Jun’ichi OKUYAMA


หนังเล่นกับการสร้างภาพแอบสแตรกต์ที่กินเนื้อที่เลยเข้าไปในเส้นเสียงของฟิล์ม 16 มม. ภาพที่เราเห็นจึงเป็นส่วนหนึ่งของเสียงในการฉาย ราวกับว่าเราสามารถ “เห็น” เสียงได้ ส่วน “เมโลดี้” หรือทำนองในหนังมาจากการใช้เทคนิคภาพเอ็กซเรย์


Dutchman’s Photograph

1974 / 7 min

Director: Isao KOTA


หนังเปิดด้วยภาพเท้าเปล่ากำลังย่ำคลื่นขนาดเล็ก ก่อนที่หนังจะหยุด และเกิดภาพซ้อนหลายชั้นจนเราเห็นเท้านั้นกำลังเดินอยู่ในอุโมงค์ หนังค่อย ๆ ปลิดตัวเองจากการมิติของพื้นที่ไปสู่การเป็นการทดลองเรื่องเวลา


Switchback

1976 / 9 min

Director: Nobuhiro KAWANAKA


หนังที่โหยหาอดีต ประกอบสร้างภาพจากฟุตเตจข่าวจากฟิล์ม 35 มม. ในยุคหลังสงครามโลก


Film Display

1979 / 5 min

Director: Shunzo SEO


หนังที่พยายามอธิบายกลไกการเคลื่อนไหวของภาพบนฟิล์ม โดยการ “แสดง” ฟิล์มในแบบที่มันเป็นจริง ๆ ในที่นี้ใช้ภาพสุนัขกำลังวิ่ง


Heliography

1979 / 6 min

Director: Hiroshi YAMAZAKI


หนังสององก์อันเกิดจากการเขียนภาพของดวงอาทิตย์ จรดปากกาด้วยรัศมีและทิศทางของแสง และดวงอาทิตย์ขึ้นเหนือเมืองอันพร่ามัว นี่คือบทกวีไฮกุที่เขียนด้วยภาพ


WHY

1975 / 11 min

Director: Keiichi TANAAMI


หนังใช้ภาพนิ่งการการแข่งขันชกมวย ผสมกับการทดลองเทคนิคภาพพิมพ์อื่น ๆ เพื่อแสวงหาเบื้องลึกของสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นจริง”


Hikari

1978 / 3 min

Director: Nobuhiro AIHARA


นักทำหนังแอนิเมชั่นอิสระคนนี้ สร้างหนังเรื่องนี้โดยขอให้เด็ก ๆ ในสวนโยนกระดาษใส่กัน โดยเขาถ่ายภาพกิจกรรมนั้นทีละเฟรม ทำให้เกิดภาพอันสนุกสนานและชวนหัว

Still Movie 

1978 / 3 min

Director: Yoichi NAGATA


การสั่นสะเทือนของภาพนิ่ง เป็นเทคนิคที่ผู้กำกับใช้ในหนังต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์เรื่องนี้ ผสมผสานภาพนกกำลังบินเข้ากับภาพควันของระเบิดปรมาณู


Xénogénèse

1981 / 7 min

Director: Akihiko MORISHITA


หนังพยายามทำให้คนดูสับสนระหว่างพื้นผิวของฟิล์มกับภาพที่ถูกบันทึกลงบนฟิล์มนั้น  ผ่านภาพของผู้ชายที่กำลังเดินเป็นวงกลม


SPACY 

1981 / 10 min

Director: Takashi ITO


หนังที่เปรียบเสมือนรถไฟเหาะ ผู้ชมถูกจู่โจมด้วยการเคลื่อนไหว ภาพของโรงยิมที่ดูสงบนิ่งจริง ๆ แล้วอาจทำให้คนดูถึงขั้นเหงื่อตกได้

โปรแกรมภาพยนตร์ที่น่าสนใจ