Archive Animation
22 เมษายน 2566
เวลา 13:00 น.
โรงช้างแดง
invalid
2566
กำกับโดย -
สนับสนุนโดย -
นำแสดงโดย -
ความยาว 0 นาที
ภาษา -
โปรแกรมภาพยนตร์การ์ตูนขนาดสั้นหลากหลายรูปแบบ และบริบทจากคลังอนุรักษ์ของหอภาพยนตร์
บันทึกการทำหนังการ์ตูน งานอบรมศิลปเด็ก หอศิลป เจ้าฟ้า
2527-2529 / ความยาว 11 นาที
ปี 2527 อันเป็นปีแรกที่หอภาพยนตร์ได้ถือกำเนิดขึ้น และมีที่ตั้งอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เจ้าฟ้า ในปีนั้น หอศิลปฯ ได้มีการจัดอบรมศิลปะประเภทต่าง ๆ ให้แก่เด็ก ๆ ในช่วงปิดภาคเรียน หอภาพยนตร์จึงได้ร่วมจัดการอบรมทำหนังการ์ตูนขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น และได้นักศึกษาภาพยนตร์จากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาเป็นวิทยากร โดยแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อทดลองประดิษฐ์และถ่ายทำแอนิเมชันขนาดสั้น ๆ ด้วยจินตนาการของพวกเขาเอง
ภาพยนตร์นี้ได้นำฟุตเทจภาพบันทึกการอบรมดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2527-2529 จากฟิล์ม 16 มม. มาตัดต่อเรียบเรียงให้กระชับ และใส่เสียงบรรยายของ โดม สุขวงศ์ ที่ได้บอกเล่าความทรงจำและบรรยากาศของการอบรมทำหนังการ์ตูนสำหรับเด็กที่น่าจะถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
-----------
Old Woman
2529 / กำกับโดย ธำรง ปริญญาคณิต / ความยาว 6 นาที
งานแอนิเมชันลายเส้นขาวดำ พูดถึงหญิงชรายากจนที่เดินทางมาจากอีสานบ้านเกิดเพื่อมาแสวงหาโชคในกรุงเทพฯ และต้องพบกับความแปลกแยกและความวุ่นวายไม่รู้จบของสังคมเมือง
-----------
สามสหาย
2522 / กำกับโดย ปัณยา ไชยะคำ / ความยาว 22 นาที
ภาพยนตร์การ์ตูนที่สร้างในโอกาสปีเด็กสากล พ.ศ. 2522 สร้างสรรค์โดย ปัณยา ไชยะคำ ศิลปินนักอนุรักษ์ธรรมชาติผู้ล่วงลับ เล่าเรื่องความสัมพันธ์ของสัตว์ 3 ตัวคือ เต่า อีกา และละอง เมื่อเต่าถูกนายพรานจับได้ อีกาและละองจึงต้องหาทางช่วยให้เพื่อนปลอดภัย ภาพยนตร์ปิดท้ายด้วยสารคดีที่บอกเล่าถึงชะตากรรมของสัตว์ทั้ง 3 ชนิดในปี พ.ศ. นั้น
-----------
อายิโนะโมโต๊ะ
2519 / กำกับโดย สุรพงษ์ พินิจค้า / ความยาว 1 นาที
แอนิเมชันที่ผลิตเพื่อเป็นไตเติลรายการโทรทัศน์ของบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ ผลงานของ สุรพงษ์ พินิจค้า ซึ่งเกิดจากการที่เขาทดลองทำไตเติลหนังบันทึกกิจกรรมค่ายอาสาของมหาวิทยาลัยสมัยเป็นนักศึกษา ด้วยเทคนิคสตอปโมชันดินน้ำมัน แล้วกลายเป็นที่สนใจอย่างมากจนได้รับการติดต่อให้มาผลิตไตเติลรายการดังกล่าวด้วยเทคนิคเดียวกัน แอนิเมชันเรื่องนี้จึงถือเป็นภาพยนตร์เชิงพานิชย์ชิ้นแรกของผู้กำกับที่ต่อมามีชื่อเสียงทั้งในฐานะคนทำโฆษณาและนักทำหนังทดลอง
-----------
โฆษณา เพียว
2506-2508 / ผู้สร้าง สำนักโฆษณาสรรพสิริ / ความยาว 2 นาที
ภาพยนตร์โฆษณาเครื่องดื่มยี่ห้อ เพียว ผลงานสร้างสรรค์ของ ปยุต เงากระจ่าง ผลิตโดย “สำนักโฆษณาสรรพสิริ” ของ สรรพสิริ วิรยศิริ ผู้บุกเบิกการผลิตภาพยนตร์โฆษณาการ์ตูนไทยรายแรก จุดเด่นของโฆษณาชิ้นนี้ คือการใช้ตัวละครเป็นตัวการ์ตูนชุด“ตุ๊กตา” ของ พิมน กาฬสีห์ ผู้บุกเบิกการ์ตูนสำหรับเด็กในเมืองไทย รวมทั้งมีเพลงประกอบบรรยายสรรพคุณสินค้าที่ติดหู ซึ่งดัดแปลงมาจากทำนองเพลงคลาสสิก In a Persian Market ภาพยนตร์โฆษณาสั้น ๆ นี้ จึงมีคุณค่าที่ยิงใหญ่ทั้งในฐานะการเป็นอนุสรณ์ถึงผลงานของนักวาดการ์ตูนไทยคนสำคัญถึงสองคน และเป็นตัวอย่างของภาพยนตร์โฆษณาที่มีอิทธิพลต่อผู้คนมายาวนาน จนกลายเป็นมรดกความทรงจำของสังคม
-----------
เด็กกับหมี
2503 / กำกับโดย ปยุต เงากระจ่าง / สร้างโดย สำนักข่าวสารอเมริกัน / ความยาว 14 นาที (ภาษาอังกฤษ คำบรรยายไทย)
ภาพยนตร์การ์ตูนที่สร้างเพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงการ รวมตัวของประเทศสมาชิกในองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้(สปอ.) หรือ SEATO ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2498 เพื่อป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์โดยเล่าผ่านภาพของเด็ก นานาชาติของสมาชิก SEATO ทั้ง 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฝรังเศส ่ นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ไทย อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ที่ ร่วมกันสู้กับหมีขั้วโลกที่ออกอาละวาดกินเด็กชาติต่าง ๆ
-----------
หนุมานเผชิญภัยครั้งใหม่
2501 / กำกับโดย ปยุต เงากระจ่าง / สร้างโดย สำนักข่าวสารอเมริกัน / ความยาว 14 นาที
ภาพยนตร์การ์ตูนที่สำนักข่าวสารอเมริกันสนับสนุนเงินและเทคโนโลยีให้ ปยุต เงากระจ่าง ผู้บุกเบิกวงการแอนิเมชันในเมืองไทยผลิตขึ้น จนกลายเป็นผลงานเรื่องแรกของตัวเองที่เขาเห็นว่าทำได้ตามมาตรฐานสากล เล่าเรื่องราวของ หนุมาน ตัวแทนค่ายเสรีประชาธิปไตยซึ่งเต็มไปด้วยความสุขและแสนยานุภาพทางอาวุธ กับ ทศกัณฐ์ ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มอมเมาและกวาดต้อนประชากรลิงให้ทำงานหนักเพื่อความสุขสบายของเหล่ายักษ์
-----------
เหตุมหัศจรรย์
2498 / กำกับโดย ปยุต เงากระจ่าง / ความยาว 8 นาที (เงียบ)
ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องแรกของไทย ผลงานการสร้างสรรค์ของ ปยุต เงากระจ่าง ซึ่งต้องการสานฝันของ เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน นักเขียนการ์ตูนรุ่นพี่ผู้ล่วงลับ ที่พยายามทำหนังการ์ตูนแต่ไม่สำเร็จและไม่ได้รับการสนับสนุน โดยปยุตได้เพียรศึกษาหาความรู้และทดลองทำด้วยทุนอันน้อยนิดของตนเอง นานหลายเดือนจึงสำเร็จ เขาดำเนินเรื่องด้วยการวาดล้อตัวเองเป็นกระทาชายขี้เซา ตื่นนอนไปทำงานในเช้าวันหนึ่ง ระว่างทางนั่งรถสามล้อถีบไปบนถนนราชดำเนิน พบเหตุมหัศจรรย์ อันเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุรถราชนกันวินาศบนถนนกลางกรุงเทพฯ ภาพยนตร์ได้ออกฉายสู่สาธารณะ เฉพาะกิจครั้งแรก ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย เมื่อ 5 กรกฎาคม 2498 ใช้วิธีพากย์และทำเสียงประกอบสดขณะฉายในโรง ความสำเร็จนี้ทำให้เขาได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งหนังการ์ตูนไทย และสำนักข่าวสารอเมริกันฯ ซึ่งเป็นนายจ้าง ส่งเขาไปศึกษาดูงานการสร้างแอนิเมชันที่ญี่ปุ่น ก่อนที่เขาจะได้สร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันเรื่องสำคัญอีกมากมายในเวลาต่อมา
“เหตุมหัศจรรย์” จึงเป็นทั้งบันทึกการสานฝันและความฝันของจินตนากรไทย เป็นความทรงจำแห่งยุคสมัย เป็นจิตวิญญานแห่งแรงบันดาลใจ ฉันทะ และวิริยะในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของชาติ
-----------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 02-482-2013 - 15 ต่อ 0 ระบบจองบัตรจะปิดหลังภาพยนตร์เริ่มฉาย 30 นาที