[เด็กซนสมัย ร.๗]

[พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๔๗๕]

[ความยาว ๗ นาที] 

ฟิล์ม ๑๖ มม. / ขาว-ดำ / เงียบ


ภาพยนตร์ม้วนนี้ เป็นหนึ่งในฟิล์มภาพยนตร์ ๑๖ มม. จำนวนสี่ม้วนที่นายสุขเกษม อุยโต ค้นพบในกุฏิหลังหนึ่งในวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โดยไม่ทราบว่ามีความเป็นมาอย่างไร แต่จากการตรวจสอบเนื้อหาในฟิล์มภาพยนตร์ที่พบนี้ ปรากฏว่าเป็นภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในราวปี พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๕ และเนื่องจากไม่มีหลักฐานบันทึกบนกล่องบรรจุฟิล์มและในเนื้อหาภาพยนตร์เลย จึงไม่ทราบว่าเป็นภาพยนตร์ของใคร ฟิล์มสี่ม้วนนี้ พบว่าม้วนหนึ่งเป็นการบันทึกพิธีการรับเสด็จ (หรือส่งเสด็จ?) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และพระราชินี เสด็จฯ ประพาสทางเรือที่ท่าราชวรดิฐ ม้วนหนึ่งเป็นภาพยนตร์บันทึกการเดินทางไปเที่ยวของครอบครัว (ซึ่งดูเหมือนเป็นครอบครัวชนชั้นขุนนาง) ตามหัวเมืองรอบ ๆ พระนคร ม้วนหนึ่ง เป็นภาพยนตร์บันทึกงานพิธีมงคลฉลองวันเกิดหรือฉลองอะไรสักอย่างของสุภาพบุรุษสูงวัยท่านหนึ่ง ที่บ้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา และอีกม้วนหนึ่งเป็นการบันทึกอย่างตั้งใจให้เด็ก ๆ ชายหญิง อายุราว ๓ - ๔ ขวบ ถึง ๑๐ ขวบ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งดูเหมือนจะเป็นญาติพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน มาแสดงโชว์การเล่นและโชว์ความสามารถในการแสดง เช่น เล่นมอญซ่อนผ้า เล่นกระโดดข้ามตัวที่ต่อให้สูงขึ้นเป็นขั้น ๆ การแสดงท่าเต้นระบำจากหนังฝรั่ง การแสดงท่าชกต่อยแบบหนังฝรั่ง การแสดงท่าตลกจำอวดจากหนังฝรั่ง เนื้อหาในภาพยนตร์ทั้งสี่ม้วนนี้ ไม่มีอะไรที่บ่งบอกว่ามีความเกี่ยวพันกันเลย นอกจากพบอยู่ด้วยกัน และอยู่ในยุคสมัยเดียวกันเฉพาะฟิล์มม้วนที่เป็นเรื่องเด็ก ๆ เล่นโชว์หน้ากล้องถ่ายภาพยนตร์นี้ นับว่ามีความน่าสนใจยิ่ง ในการบันทึกให้เห็นพฤติกรรมการเล่นและการแสดงออกของเด็กไทยในสังคมเมืองสมัยรัชกาลที่ ๗ โดยเฉพาะการสะท้อนให้เห็นได้ว่าภาพยนตร์มีอิทธิพลอย่างใดและเพียงไรต่อวิถีชีวิตของคนและสังคมในสมัยนั้นในตอนต้นของภาพยนตร์ม้วนนี้ เริ่มด้วยภาพของรถยนต์เก๋งเปิดประทุนคันหนึ่งแล่นเข้ามาที่ลานสนามแห่งหนึ่ง มีชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งแต่งกายชุดสูทฝรั่งและเขียนหน้าคล้ายตัวตลกโจ๊กเกอร์ลงมาจากรถ แล้วถูกเด็ก ๆ ราวสิบคนช่วยกันจับตัว เขาวิ่งหนีเด็กไปมาจนตกลงไปในบ่อน้ำ จากนั้นจึงเป็นการแสดงของเด็ก ๆ ภาพยนตร์ม้วนนี้จึงเป็นตัวอย่างอันหาได้ยากยิ่งของภาพยนตร์ที่บันทึกให้เห็นพฤติกรรมการเล่นซนหรือการเล่นอวดของเด็กไทยในสมัยรัชกาลที่ ๗ และกริยาอาการหรือท่าทางเหล่านี้ ไม่อาจบรรยายให้เห็นได้เลยด้วยภาษาพูดเขียนหรือภาพนิ่ง


นอกจากภาพเคลื่อนไหวจากกล้องถ่ายภาพยนตร์เท่านั้นหอภาพยนตร์ได้ตั้งชื่อภาพยนตร์ม้วนนี้เป็นการลำลองไว้สองสามชื่อ เช่น เด็กยุค ร.๗ โชว์ เด็กซนสมัย ร.๗ และ การละเล่นของเด็กยุค ร.๗ แต่เมื่อฟิล์มม้วนนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ นี้ จึงตกลงให้ใช้ชื่อในการขึ้นทะเบียนว่า [เด็กซนสมัย ร.๗] โดยมีวงเล็บซึ่งเป็นเครื่องหมายในระบบทะเบียนภาพยนตร์ของหอภาพยนตร์ว่าหมายถึงชื่อที่ตั้งขึ้นเองเพราะไม่ทราบชื่อจริงหรือไม่มีชื่อมาแต่เดิม


หมายเหตุ: ชื่อเรื่องที่อยู่ใน [...] หมายถึง ภาพยนตร์เรื่องนั้นไม่มีไตเติ้ลชื่อเรื่องปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ เป็นชื่อที่หอภาพยนตร์ตั้งขึ้นเอง

มรดกภาพยนตร์ของชาติ

ดูทั้งหมด

Goal Club เกมล้มโต๊ะ

ฟิล์ม 35 มม. / สี /เสียง / 98 นาทีวันที่ออกฉาย               27 เมษายน 2544บริษัทสร้าง      &nb...

อ่านรายละเอียด

สาย สีมา นักสู้สามัญชน

ฟิล์ม 35 มม. / สี / พากย์ / 100 นาทีวันที่ออกฉาย      27 มิถุนายน 2524บริษัทสร้าง    พิฆเณศภาพยนตร์ผู้อำนวยการสร้าง ...

อ่านรายละเอียด

วิมานดารา

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง /  141 นาทีวันที่ออกฉาย 19 มกราคม 2517บริษัทสร้าง            เทพชัยภาพยนตร์ผู้กำกับ&nbs...

อ่านรายละเอียด

ทอง

ฟิล์ม 35 มม. / สี / เสียง / 113 นาทีฉายครั้งแรก               22 ธันวาคม 2516บริษัทสร้าง   ...

อ่านรายละเอียด